
6 กลยุทธ์ในการเอาชนะปัญหาด้านการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จของในการทำ Digital Transformation
บริษัทมากมายต่างพยายามค้นหา และออกแบบกระบวนการทำงาน เพื่อให้การทำงานยังสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างดี เพราะการเปลี่ยนแปลงที่คนนั้นเป็นไปได้ยาก และการที่องค์กรจะสามารถคัดเลือกงานให้เหมาะกับคน และเหมาะกับเวลานั้น ก็เป็นไปได้ยากเช่นกัน ดังนั้น 6 กลยุทธ์ที่จะมาช่วยองค์กรด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสของการประสบความสำเร็จในการทำ Digital Transformation
1. Focus on the why: ให้ความสำคัญกับคำว่า “ทำไม”
สื่อสารกับคนในองค์กรถึงความสำคัญของ Digital Transformation ว่าไม่ใช่แค่การสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงระดับบุคคลอีกด้วย การอธิบายถึงความสำคัญเพื่อให้ทุกเข้าใจถึงแก่นแท้ และความสำคัญของการบรรลุจุดประสงค์จะทำให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
2. Create personalized communication journeys: สร้างรูปแบบการสื่อสารของแต่ละบุคคล
พนักงานในองค์กรก็เปรียบเสมือนลูกค้าที่ต้องได้รับการสื่อสารให้เหมาะกับแต่ละบุคคล เพื่อให้เขาได้รับแรงบันดาลใจ และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง เพราะไม่มีเพียงหนึ่งวิธีที่สามารถเข้าถึงทุกคนได้ การสื่อสารไม่ใช่งานอีเว้นท์แต่เป็นวิธีการต่างหาก ดังนั้นต้องเข้าหาแต่ละคนเพื่อถามถึงข้อกังวลใจและคำถามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความกระจ่างให้กับทุกคนอย่างทั่วถึง
3. Create targeted multimedia experiences that reach different groups: สร้างประสบการณ์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างในหลากหลายช่องทาง
แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนการสื่อสารให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น แต่ 75% ของบริษัททั้งหมดต่างติดขัดกับเรื่องของการให้ข้อมูลที่เหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล เพราะแต่ละคนจะมีวิธีรับสารแตกต่างกัน บางคนจะเข้าใจสารที่เป็นภาพมากกว่า บางคนฟังอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งการสร้างประสบการณ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้ามหายที่แตกต่างกัน ในหลากหลายช่องทางเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น และยั่งยืนมากขึ้น
4. Communicate in context: การสื่อสารผ่านการร้อยเรียงเรื่องราวผ่านสภาพแวดล้อม
ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสารมากมายที่เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น วิดีโอ หรือโซเชี่ยลมีเดียต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การขอให้พนักงานเช็คอินบ็อกซ์ หรือ Slack ของตัวเองเรื่อย ๆ นั้นยิ่งทำให้เพิ่มความล้มเหลวกว่าเดิม เนื่องจากเป็นการสร้างภาระให้กับตัวพนักงานเอง และพวกเขาจะเลือกเมินเฉยต่อสารที่ถูกสื่อมายังช่องทางเหล่านี้ ดังนั้นการสื่อสารควรเข้ากับบริบทและสภาพแวดล้อมของการทำงานในแต่ละที่ด้วย
5. Use data to measure and iterate: ใช้ข้อมูลในการวัดผลและแสดงผล
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณประสบความสำเร็จอยากไม่มีการวัดผลเกิดขึ้น ส่วนมากคนมักจะคิดว่าการสื่อสารคือการส่งสารหรือข้อความเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วการสื่อสารจะสำเร็จก็ต่อเมื่อผู้รับสารได้คิดตาม ดังนั้นการวัดผลเบื้องต้นคือการดูการตอบสนองและการปรับตัวของผู้ฟัง หรืออีกวิธีการหนึ่งคือการ Feedback เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของการสื่อสารที่เกิดขึ้น
6. Become a change-ready organization: เปลี่ยนองค์กรให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงเสมอ
หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่เหนือกว่าการสื่อสารเท่านั้น แต่เป็นสร้าง Mindset เรื่องการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาให้กับองค์กร ว่าทุกการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้ และจำเนต้องมีความเตรียมพร้อมตลอดเวลา ดังนั้น การทำงานนภายในองค์กรต้องไม่เป็นระบบที่มากเกินไป เนื่องจากเปลี่ยนแปลงยาก แต่ต้องมีความยืดหยุ่น แต่ยังมีประสิทธิผลอยู่ เพื่อปรับตัวให้ทันกับทุกโอกาสที่อาจเข้ามา
Date : 14/02/2020